วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

สมบัติบางประการของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน

สมบัติบางประการของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน

สมบัติทั่วไปของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ดังนี้

1. แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล สารประกอบไฮโดรคาร์บอนทุกชนิด จะประกอบด้วยธาตุ C และ H พันธะที่เกิดจาก C กับ C จะเป็นพันธะเดี่ยว พันธะคู่ หรือพันธะสาม สารประกอบไฮโดรคาร์บอนทุกชนิดจัดเป็นโมเลกุลไม่มีขั้วแรงยึดเหนึ่ยวระหว่างโมเลกุล ของ สารประกอบ ไฮโดรคาร์บอนเป็น แรงวันเดอร์วาลส์

2. จุดเดือด และจุดหลอมเหลว จุดเดือดและจุดหลอมเหลวของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนต่ำ เมื่อเที่ยบกับสารอื่น ๆ ที่มี มวลโมเลกุล ใกล้เคียงกัน โดยจุดเดือดและจุดหลอมเหลวจะเพิ่มขึ้นตามจำนวนคาร์บอนที่เพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเที่ยบจุดเดือดและจุดหลอมเหลวของ แอลเคน, แอลคีน และแอลไคน์ เมื่อจำนวนคาร์บอนเท่ากันจะได้ดังนี้ แอลไคน์>แอลเคน>แอลคีน

3. ความหนาแน่น สารประกอบไฮโดรคาร์บอนมีความหนาแน่นต่ำ โดยทั่วไปมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ

4. สถานะ สารประกอบไฮโดรคาร์บอนโดยทั่วไปมีได้ทั้ง 3 สถานะ โดยขึ้นอยู่กับจำนวนคาร์บอน ถ้าจำนวนคาร์บอนมาก ส่วนใหญ่สถานะจะ เปลี่ยนไป จาก ก๊าซ เป็นของเหลว และของแข็งตามลำดับ โดย

ก๊าซ ของเหลว ของแข็ง
แอลเคน C 1 - C 4 C 5 - C 17 C 18 ตัวขึ้นไป
แอลคีน C 2 - C 4 C 5 - C 17 C 18 ตัวขึ้นไป
แอลไคน์ C 2 - C 4 C 5 - C 17 C 18 ตัวขึ้นไป

5. การละลายน้ำ สารประกอบไฮโดรคาร์บอนทุกชนิดไม่ละลายน้ำ เนื่องจากเป็นโมเลกุลโคเวเลนต์ไม่มีขั้ว แต่จะสามารถละลายในตัวทำ ละลาายที่ไม่มีขั้วได้ เช่น คาร์บอนเตตระคลอไรด์ คลอโรฟอร์ม เป็นต้น

6. การเผาไหม้ สารประกอบไฮโดรคาร์บอนทุกชนิดสามารถเกิดปฏิกิริยาการเผาไหม้ในอากาศได้ โดยทำปฏิกิริยากับก๊าซออกซิเจน ในการเกิดปฏิกิริยาการเผาไหม้อาจจะเกิดการเผาไหม้สมบูรณ์ หรือไม่สมบูรณ์ ขึ้นอยู่กับจำนวนออกซิเจน ถ้าจำนวนออกซิเจนมากจะเกิดการ เผาไหม้อย่างสมบูรณ์ ได้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และไอน้ำ ไม่มีเขม่า แต่ถ้าจำนวนออกซิเจนน้อย จะเกิดการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ ได้ผลิตภัณฑ์ เป็นก๊าซคาร์บอนมอนอออกไซด์ หรือ คาร์บอน กับไอน้ำ ซึ่งจะเกิดเขม่าขึ้น เมื่อเปรียบเทียบเขม่าของ แอลเคน แอลคีน และแอลไคน์ โดยจำนวน คาร์บอนเท่ากันได้ ดังนี้ แอลไคน์>แอลคีน>แอลเคน

http://203.172.204.162/intranet/1046_e-learning/www.e-learning.sg.or.th/ac2_5/content3.1.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น